บทที่ 6 การสรุปผลข้อมูลและ Action Query
6.1 การสรุปผลข้อมูล (Summary)
การประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ๆ
พบว่าจะต้องมีการสรุปผลข้อมูลในภาพรวมด้วยค่าทางสถิติรูปแบบต่างๆ
ซึ่งจะอยู่ในรูปฟังก์ชั่นสรุปค่า เช่น การหาค่าผลรวม (Sum) ค่าเฉลี่ย (Average) การนับจำนวน (Count) ค่าสูงสุด/ต่ำสุด (Max/Min) ฯลฯ
โดยเฉพาะข้อมูลประเภทตัวเลข ซึ่งการสรุปผลด้วย Query สามารถสรุปผลได้ 2 ลักษณะ คือ
6.1.1 คำสั่งผลรวม (Total) หมายถึง
การออกแบบเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลในการสรุปผลข้อมูลด้วยค่าฟังก์ชั่นสำเร็จรูป
ซึ่งสามารถออกแบบได้ 2 ลักษณะ คือ
1) ตัวช่วยสร้างแบบสอบถามอย่างง่าย (Simple Query
Wizard) หมายถึง การออกแบบที่ต้องการตัวช่วยสร้าง (Wizard) ในการออกแบบ
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง (New) เลือก ตัวช่วยสร้างแบบสอบถาม (Query Wizard)
- เลือก ตัวช่วยแบบสอบถามอย่างง่าย (Simple
Query Wizard) เลือก ตาราง/แบบสอบถาม ที่ต้องการนำมาสรุป
- จะปรากฏเมนูการออกแบบเพื่อกำหนดค่าต่างๆ
ได้แก่
- เลือกเขตข้อมูลที่จัดกลุ่ม เลือกเขตข้อมูลที่นำมาสรุปผล
- เลือกเมนู สรุป เลือก ตัวเลือกสรุป
- เลือกฟังก์ชั่นให้กับเขตข้อมูลที่นำมาสรุปผล เช่น Sum, Avg,
Max, Min ฯลฯ
ระบุชื่อแบบสอบถาม ในการบันทึก
เลือก เสร็จสิ้น
ตัวอย่าง ต้องการสรุปค่าผลรวมเงินเดือน
และค่าเฉลี่ยเงินเดือน โดยต้องการจัดกลุ่มตามเพศและแผนก
ขั้นตอนการสรุป
- เลือกเมนู สร้าง เลือก ตัวช่วยสร้างแบบสอบถาม
- เลือกตาราง goods เลือกเขตข้อมูล g_code,
g_type, g_name price และ stock
- เลือก ตัวเลือกสรุป เลือก Sum, Avg สำหรับเขตข้อมูล stock และ เลือก Min,
Max สำหรับเขตข้อมูล price
- ระบุชื่อแบบสอบถาม
ที่ต้องการบันทึก เลือก เสร็จสิ้น
2) ออกแบบด้วยคำสั่งผลรวม หมายถึง
การสรุปผลที่ต้องการเข้าไปออกแบบด้วยออกแบบแบบสอบถาม
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง เลือก ออกแบบแบบสอบถาม
-
เลือก ตาราง/แบบแบบสอบถาม ที่ต้องการ
-
เลือกเขตข้อมูลที่ต้องการจัดกลุ่มและสรุปผลมาวางบนตารางออกแบบ
-
เลือก Total หรือกดปุ่ม บนแถบ Ribbon
-
จะปรากฏบรรทัด ผลรวม บนตารางออกแบบแต่ละเขตข้อมูลประกอบด้วย
- Group
By หมายถึง ให้จัดกลุ่มรายการตามเขตข้อมูลที่เลือก
โดยจะมีการจัดเรียงเพื่อให้ข้อมูลเหมือนกันมาแสดงเป็นกลุ่มต่อเนื่อง
- ฟังก์ชันสำเร็จรูป 9 ฟังก์ชัน ได้แก่ Sum (ผลรวม) Avg (ค่าเฉลี่ย) Min (ค่าต่ำสุด) Max (ค่าสูงสุด) Count (นับจำนวน) StDev (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน),Var (ค่าความแปรปรวน) First (ค่าแรกของรายการ) Last (ค่าสุดท้ายของรายการ)
** Expression ใช้กำหนดเขตข้อมูลที่เกิดจากการคำนวณ
** Where ใช้กำหนดเงื่อนไขเพื่อให้แสดงตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดในเขตข้อมูลที่เลือกโดยเขตข้อมูลดังกล่าวจะไม่สามารถนำมา
แสดงได้
-
เลือกคุณสมบัติของแต่ละเขตข้อมูลตามความหมาย
-
ระบุชื่อ Query ที่ต้องการบันทึก เพื่อจะนำมาสรุปในครั้งต่อไป
ตัวอย่าง ต้องการนำตาราง Person มาสรุปผลข้อมูลตามข้อกำหนดต่อไปนี้
1. จัดกลุ่มตาม sex และ pos ตามลำดับ
2. สรุปผลค่าผลรวมเงินเดือน และค่าเฉลี่ยเงินเดือน
3. นำผลรวมเงินเดือนมาคำนวณ ภาษี/เดือน โดยคิดที่อัตราร้อยละ 5
4. ต้องการสรุปผลเฉพาะตำแหน่งการเงิน และธุรการ เท่านั้น
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง เลือก
ออกแบบแบบสอบถาม เลือก ตาราง Person
- นำเขตข้อมูล sex, dep, sal มาวางบนตารางออกแบบ
- เลือก ผลรวม หรือ บนแถบ Ribbon
- กำหนดการออกแบบบรรทัดผลรวม
คำนวณ tax, และสร้างเงื่อนไขดังรูปที่ 6.3
- เลือก มุมมอง เลือก
มุมมองแผ่นข้อมูล ก็จะแสดงผลการสรุปตามต้องการ
6.1.2 คำสั่งแบบสอบถามแบบตาราง หมายถึง การออกแบบเพื่อจัดกลุ่มข้อมูล
ที่สามารถออกแบบได้ทั้งแนวนอนและแนวคอลัมน์ มาสรุปผลข้อมูลในรูปฟังก์ชันค่าต่างๆ
เช่น การหาค่าผลรวม ค่าเฉลี่ย การนับจำนวน ค่าสูงสุด/ต่ำสุด ฯลฯ
โดยเฉพาะข้อมูลประเภทตัวเลข ซึ่งการสรุปผลด้วย Query สามารถสรุปผลได้ 2 ลักษณะ คือ
1) ออกแบบด้วย Crosstab Query หมายถึง
การออกแบบที่ต้องการตัวช่วยสร้าง ในการออกแบบ
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง เลือก
ตัวช่วยสร้างแบบสอบถาม
- เลือก ตัวช่วยสร้างแบบสอบถามแบบตาราง
- จะปรากฏเมนู Crosstab
Query Wizard มีขั้นตอนดังนี้
- เลือกชื่อ ตาราง/แบบสอบถาม
ที่จะนำมาออกแบบ
- เลือกชื่อเขตข้อมูลที่จะนำมากำหนดเป็นส่วนหัวของแถว
กำหนดได้มากกว่า 1 เขตข้อมูล
- เลือกชื่อเขตข้อมูลที่จะนำมากำหนดเป็นส่วนหัวของคอลัมน์
สามารถกำหนดได้เพียงเขตข้อมูลเดียวเท่านั้น
- เลือกเขตข้อมูลที่จะนำค่ามาสรุปผลพร้อมเลือกฟังก์ชันที่ต้องการ
ระบุชื่อแบบสอบถาม เลือก เสร็จสิ้น
2) ออกแบบด้วยออกแบบแบบสอบถาม
หมายถึง การออกแบบด้วยตนเองโดยกำหนดค่าต่างๆ บนตารางออกแบบ Query
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง เลือก ออกแบบแบบสอบถาม
- เลือก ตาราง/แบบสอบถาม ที่ต้องการ เลือก ตกลง
จะเข้าสู่ตารางออกแบบแบบสอบถาม
- เลือกเขตข้อมูลที่จะนำมาจัดกลุ่มในแนวแถว (เลือกได้มากกว่า 1 เขตข้อมูล)
- เลือกเขตข้อมูลที่จะนำมาจัดกลุ่มในแนวคอลัมน์ (เลือกได้เพียง 1
เขตข้อมูลเท่านั้น)
- เลือกเขตข้อมูลที่จะนำมาสรุปผล
- เลือกเขตข้อมูลที่จะนำมากำหนดเงื่อนไข
(เมื่อต้องการสรุปข้อมูลเฉพาะรายการที่ต้องการ)
- เลือก ออกแบบแบบตาราง จะปรากฏบรรทัด ผลรวม และบรรทัดแบบตาราง
เพิ่มขึ้นบนตารางออกแบบ
- บรรทัด ผลรวม ออกแบบเหมือนคำสั่งผลรวม ในหัวข้อที่ 6.1.1
- บรรทัด แบบตาราง ประกอบด้วย
**
หัวข้อของแถว สำหรับเขตข้อมูลที่จะจัดกลุ่มในแนวแถว
**
ส่วนหัวของคอลัมน์ สำหรับเขตข้อมูลที่จะจัดกลุ่มในแนวคอลัมน์
- ค่า สำหรับแสดงค่าเขตข้อมูลที่จะนำมาสรุปผล
- ไม่แสดงไว้ กรณีไม่ต้องการแสดงค่า สำหรับเขตข้อมูลที่กำหนดเงื่อนไข
- บันทึก โดยเลือกเมนู แฟ้ม เลือก บันทึก หรือเลือก บนแถบเครื่องมือด่วน
ตัวอย่าง ต้องการนำข้อมูลในตาราง Person มาสรุปหาค่าผลรวมตามข้อกำหนดดังนี้
1. จัดกลุ่มตาม sex ในแนวแถว
2. จัดกลุ่มตาม pos ในแนวคอลัมน์
3. สรุปผลค่าผลรวมเงินเดือน
4. ต้องการสรุปผลเฉพาะตำแหน่งบัญชีและการเงิน เท่านั้น
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง เลือก
ออกแบบแบบสอบถาม
- เลือก ตาราง Person เลือก
เพิ่ม
- นำเขตข้อมูล sex, pos, sal, pos มาวางบนตารางออกแบบ
- เลือกออกแบบแบบตาราง
- กำหนดการออกแบบบรรทัด
ผลรวม และบรรทัด แบบตาราง ดังรูปที่ 6.5
-
สร้างเงื่อนไขเฉพาะตำแหน่งบัญชี และการเงิน
6.2 Action Query
หมายถึง
การออกแบบเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อข้อมูลในตาราง โดยตรง
ซึ่งต่างจากแบบสอบถามที่เคยรู้จักหรือที่กล่าวมา มักจะอยู่ในรูปตารางข้อมูล
เพื่อการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ออกแบบ ซึ่งไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในตาราง Action
Query ประกอบด้วย การผนวกข้อมูลในตาราง
การปรับปรุง/แก้ไขข้อมูล การสร้างตาราง การลบข้อมูลในตาราง
โดยแบบสอบถามประเภทนี้จะแสดงการเปลี่ยนแปลงเมื่อใช้คำสั่ง เรียกใช้ เท่านั้น
โดยสามารถรันด้วยเมนูคำสั่ง ขณะออกแบบ หรือเมื่อมีการ เปิด Action
Query ก็ถือว่าต้องการเรียกใช้เช่นเดียวกัน
6.2.1 การผนวกข้อมูลในตาราง หมายถึง
การออกแบบแบบสอบถามสำหรับการนำข้อมูลจากตารางหนึ่งไปเพิ่มข้อมูลใหม่ให้กับตารางที่มีอยู่เดิมโดยนำไปต่อท้ายรายการข้อมูลที่มีอยู่เดิม
โดยโครงสร้างข้อมูลใหม่จะต้องเหมือนกับโครงสร้างตารางเดิมที่มีอยู่
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง เลือก
ออกแบบแบบสอบถาม
- เลือก ตาราง/แบบสอบถาม
ที่จะนำข้อมูลไปเพิ่ม
-
เลือกเขตข้อมูลที่จะนำไปเพิ่ม และกำหนดเงื่อนไขของการเลือกข้อมูล
(ถ้าไม่กำหนดหมายถึงเลือกทุกรายการ)
- เลือกแถบเครื่องมือ ที่เมนูออกแบบ
- เลือก ชื่อ Table เดิมที่จะนำข้อมูลไปเพิ่มต่อท้าย
ที่ Table Name เลือก OK
- เลือก แฟ้ม เลือก บันทึก
เพื่อบันทึกแบบสอบถาม ไว้สำหรับ เรียกใช้ในครั้งต่อไป
ตัวอย่าง ต้องการนำข้อมูลในตารางแฟ้มนักเรียน
(2) ประกอบด้วยข้อมูลนักเรียนรหัส 006-010 จำนวน 5
รายการไปเพิ่มต่อท้ายในตารางแฟ้มนักเรียน
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง เลือก
ออกแบบแบบสอบถาม
- เลือกตารางชื่อ
แฟ้มนักเรียน (2) เลือก ตกลง
-
เลือกเขตข้อมูลทุกเขตข้อมูล โดยคลิกสัญลักษณ์ * มาวางบนตารางออกแบบ
- เลือกผนวก ที่แถบเครื่องมือ
- คลิกที่ ชื่อตาราง
เลือกตารางชื่อ แฟ้มนักเรียน เลือก OK
- เลือกเรียกใช้ ที่แถบเครื่องมือ
-
จะแสดงข้อความคุณกำลังจะผนวกข้อมูลจำนวน 5 แถว ให้ตอบ ใช้
- เลือก แฟ้ม เลือกบันทึก
พิมพ์ชื่อ เพิ่มข้อมูล เลือก ตกลง
6.2.2 การปรับปรุงข้อมูลในตาราง หมายถึง การออกแบบเพื่อกำหนดค่าข้อมูล
คำนวณค่าตามสูตรที่กำหนด เพื่อบันทึกไปยังเขตข้อมูล และ Table ที่ระบุ
โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขเพื่อเลือกบันทึกเฉพาะรายการที่ต้องการหรือบันทึกทุกรายการในตาราง
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง เลือก
ออกแบบแบบสอบถาม
- เลือก ตาราง/แบบสอบถาม
ที่จะนำมาคำนวณค่าข้อมูล
-
เลือกเขตข้อมูลที่เกิดจากการคำนวณ
และเขตข้อมูลที่จะกำหนดเงื่อนไขการคำนวณมาวางบนตารางออกแบบ
- เลือกออกแบบปรับปรุง ทีแถบเครื่องมือ
- จะปรากฏบรรทัด
ปรับปรุงเป็น
เพิ่มบนตารางออกแบบเพื่อกำหนดค่าหรือสร้างสูตรคำนวณสำหรับเขตข้อมูลที่ต้องการบันทึกค่าจากการคำนวน
- สร้างเงื่อนไขที่
เกณฑ์ สำหรับเขตข้อมูลที่ต้องการกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้บันทึกเฉพาะรายการที่ต้องการ
(ถ้าไม่กำหนดหมายถึงต้องการบันทึกในทุกรายการ)
- เลือก เรียกใช้ ที่แถบเครื่องมือ
- เลือก แฟ้ม เลือก บันทึก
เพื่อบันทึกแบบสอบถามไว้สำหรับเรียกใช้ในครั้งต่อไป
ตัวอย่าง ต้องการนำ Table แฟ้มนักเรียน มาออกแบบเพื่อหาค่าเกรดของนักศึกษา และบันทึกลงในเขตข้อมูล grade ของตารางทุกรายการ โดยกำหนดเงื่อนไขการให้ค่าเกรดจากเขตข้อมูล score ดังนี้
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง เลือก
ออกแบบแบบสอบถาม
- เลือกตาราง แฟ้มนักเรียน
เลือก ตกลง
- เลือกเขตข้อมูล grade มาวางบนตารางออกแบบ
- เลือกเมนูปรับปรุง ที่แถบเครื่องมือ
-
สร้างเงื่อนไขเพื่อกำหนดเกรดในบรรทัด ปรับปรุงเป็น บนตารางออกแบบดังนี้
เขตข้อมูล grade
ปรับปรุงเป็น iif([score]>=80,4,iif([score]>=70,3,iif([score}>=60,2,1)))
- เลือก เรียกใช้ ที่แถบเครื่องมือ
- เลือก แฟ้ม เลือก บันทึก
ซึ่งประมวลผลเกรดไว้สำหรับการเรียกใช้ในครั้งต่อไป
***หมายเหตุ
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงคะแนนนักเรียน จะต้องทำการเรียกใช้แบบสอบถาม
ใหม่อีกครั้ง โดยการคลิกที่ Query ประมวลผลเกรด
แล้วคลิก Open หรือดับเบิลคลิกประมวลผลเกรด
6.2.3 การสร้างตารางใหม่ สร้างตารางใหม่จาก ตาราง/แบบสอบถาม
ที่มีอยู่ โดยสามารถเลือกเขตข้อมูลเฉพาะที่ต้องการได้
หรือเขตข้อมูลที่เกิดจากการรวมเขตข้อมูลหลายตาราง ที่มีความสัมพันธ์กัน
ในส่วนของข้อมูลแต่ละรายการ
ก็สามารถสร้างเงื่อนไขเพื่อเลือกเฉพาะรายการข้อมูลที่ต้องการ
หรือเลือกรายการข้อมูลทั้งหมด
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง เลือก
ออกแบบแบบสอบถาม
- เลือก ตาราง/แบบสอบถาม
ที่นำมาออกแบบ
-
เลือกเขตข้อมูลที่ต้องการนำมาสร้างตารางใหม่
- สร้างเงื่อนไขที่ เกณฑ์
เพื่อเลือกเฉพาะรายการที่ต้องการ (ถ้าไม่กำหนดหมายถึงต้องการข้อมูลทุกรายการ)
- เลือกสร้างตาราง ที่แถบเครื่องมือ
-
ระบุชื่อตารางใหม่เพื่อบันทึกตารางใหม่ เลือก ตกลง
- เลือกเรียกใช้ ที่แถบเครื่องมือ
เลือก แฟ้ม เลือก บันทึก
ชื่อประมวลผลเกรดไว้สำหรับการเรียกใช้ในครั้งต่อไป
ตัวอย่าง ต้องการนำตารางแฟ้มนักเรียนมาออกแบบเพื่อสร้างเป็นตารางใหม่ชื่อแฟ้มนักเรียน
ปวช. โดยต้องการเฉพาะเขตข้อมูล รหัส ชื่อ สกุล แผนก เกรด
และต้องการเฉพาะรายการนักเรียนระดับ ปวช. เท่านั้น
6.2.4 การลบข้อมูลในตาราง การออกแบบแบบสอบถาม เพื่อลบรายการข้อมูลออกจากตารางตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือลบข้อมูลทุกรายการ
โดยเฉพาะการลบข้อมูลด้วย Delete Query จะช่วยค้นหาข้อมูลที่ต้องการลบโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเป็นผู้ค้นหาข้อมูลเอง
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง เลือก
ออกแบบแบบสอบถาม
- เลือก ตาราง/แบบสอบถาม
ที่ต้องการนำมาออกแบบ
-
เลือกเขตข้อมูลที่กำหนดเงื่อนไขมาวางบนตารางออกแบบ
- ระบุเงื่อนไขที่ เกณฑ์
เพื่อกำหนดรายการในการลบข้อมูล
(ถ้าไม่ระบุหมายถึงต้องการลบทุกรายการหรือลบข้อมูลทั้งตาราง)
- เลือกลบ ที่แถบเครื่องมือ จะปรากฏบรรทัด ลบ
บนตารางออกแบบ
- เลือกเมนู เรียกใช้
ที่แถบเครื่องมือ
ก็จะลบรายการข้อมูลตามเงื่อนไข
- เลือก แฟ้ม เลือก บันทึก
ซึ่งประมวลผลเกรดไว้สำหรับการเรียกใช้ในครั้งต่อไป
ตัวอย่าง ต้องการออกแบบแบบสอบถาม
เพื่อนำมาลบข้อมูลในตารางแฟ้มนักเรียน
โดยให้ผู้ใช้เป็นผู้ระบุรหัสนักเรียนที่ต้องการลบทางคีย์บอร์ด
ขั้นตอนการออกแบบ
- เลือกเมนู สร้าง เลือก
ออกแบบแบบสอบถาม
-
เลือกตารางชื่อแฟ้มนักเรียน เลือก เพิ่ม เลือก ปิด
- เลือกเขตข้อมูล code มาวางที่ตารางออกแบบ
- สร้างพารามิเตอร์ที่ เกณฑ์ ดังนี้
เขตข้อมูล Code
เกณฑ์ [ระบุรหัสที่ต้องการลบ(xxx)]
- เลือกเมนู ที่แถบเครื่องมือ
- เลือกเมนู ที่แถบเครื่องมือ
-
จะปรากฏพารามิเตอร์เพื่อให้ระบุรหัสที่ต้องการลบ
หลังจากที่ระบุถ้าค้นพบรหัสที่ต้องการ จะแสดงข้อความเพื่อยืนยันการลบ ถ้าตอบ Yes ข้อมูลรหัสดังกล่าวก็จะถูกลบทันที ถ้าตอบ No จะยกเลิกการลบข้อมูลดังกล่าว
- เลือก File เลือก Save ชื่อ ลบข้อมูลนักเรียน ไว้สำหรับการรันในครั้งต่อไป
***หมายเหตุ ในกรณีที่ต้องการลบข้อมูลนักเรียนในตาราง
แฟ้มนักเรียน ในครั้งต่อไป โดยการคลิกที่ Query ชื่อลบข้อมูลนักเรียน
แล้วคลิก Open หรือดับเบิลคลิก Query ชื่อลบข้อมูลนักเรียน
ก็จะปรากฏพารามิเตอร์เพื่อให้ระบุรหัสนักเรียนที่ต้องการลบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น