บทที่ 8
คุณธรรมจริยธรรมที่ดีในการใช้คอมพิวเตอร์
ความหมายและลักษณะของจริยธรรมและความรับผิดชอบในการใช้คอมพิวเตอร์
ตามพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ได้ความหมายของคุณธรรม ว่าหมายถึง สภาพคุณงามความดีหรือหน้าที่อันพึงมีอยู่ในตัว
สรุปได้ว่า
คุณธรรม หมายถึง หลักของความดี ความงาม ความถูกต้อง ซึ่งจะแสดงออกมาโดยการกระทำ
ทางกาย วาจา และจิตใจของแต่ละบุคคล
ซึ่งเป็นหลักประจำใจในการประพฤติกรรมปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย
เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
จริยธรรมและความรับผิดชอบในการใช้คอมพิวเตอร์
หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
เช่น ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ ได้แก่
การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต
การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
การละเมิดสิทธิ์
ลักษณะของจริยธรรมและความรับผิดชอบในการใช้คอมพิวเตอร์
คุณธรรมจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น
ซึ่งจะพบว่ายิ่งประโยชน์เพียงใด เทคโนโลยีสารสนเทศก็อาจเป็นภัยมากเท่านั้น
หากผู้ใช้ไม่มีความรู้ ความรับชอบและนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น
ในแต่ละประเทศจึงได้มีการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์
รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งมีการกำหนดบัญญัติที่ผู้ใช้เทคโนโลยีควรยึดถือและปฏิบัติตาม
ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ในการรบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการเข้าถึงข้อมูล
หรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ไปใช้งาน
7. ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ
8. ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ก่อความเสียหายหรือความรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น
การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต
11. ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ควรจะเผยแพร่
12. ใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบและกติกามารยาท
เมื่อพิจารณาถึงคุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้วยังสามารถแยกเป็นอีก
4 ข้อ ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ซึ่งประกอบด้วย
1. ความเป็นส่วนตัว
(Information
Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง
และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น
ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อน่าสังเกตดังนี้
1.1
การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าว
1.2
การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล
ซึ่งทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
1.3
การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
1.4
การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่น
ๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้บริษัทอื่น
ดังนั้น
เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ
จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น
หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต
และที่อยู่อีเมล
2. ความถูกต้อง
(Information
Accuracy) ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น
ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล
รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ นอกจากนี้
ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตนเองด้วย
3. ความเป็นเจ้าของ
(Information
Property) สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง
กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น
คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้
เช่นบทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดสดและบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ ได้
เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น โดยในการคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน
เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีสิทธิในระดับใด
4. การเข้าถึงข้อมูล
(Data
Accessibility) ปัจจุบันการเข้าใช้โปรแกรม
หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน
เพื่อป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่าง ๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น
ก็ถือเป็นการผิดจริยะรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว
ผลที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรม
การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ
หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว
การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้น
ก็คงจะไม่เกิดขึ้นแต่ถ้าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่คำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรมก็อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง
ๆ เช่น
1.
ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำไปใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนการปล้น
วางแผนโจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร
มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลขบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น การแก้ไขระดับคะแนนของนักเรียน
การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาลเพื่อให้รักษาพยาบาลคนไข้ผิดซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตกรรมดังที่เห็นในภาพยนตร์
2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย
การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำให้สามารถติดติ่สื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว
การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมที่มีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว
ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง
ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่ามนุษย์สัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง
สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกันมาก
3.
ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า
ข้อมูลสินค้าและบริการต่าง ๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูล
อันเนื่องมาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้ข้อมูลหานย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง
4. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น
ประเทศที่เป็นต้นตำรับของเทคโนโลยีสามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ในการสร้างอาวุธที่อานุภาพการทำลายสูง
ทำให้หมิ่นเหม่ต่อสงครามที่มีการทำลายสูงเกิดขึ้น
5. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจ่ายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว
การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะมีจริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์เพียงไร
เช่น การเผยแพร่ภาพอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย
นอกจอกนี้ยังมีการปลอมแปลงระบบจดหมาย เพื่อส่งจดหมายถึงผู้อื่นโดยมีเจตนาการจายข่าวที่เป็นเท็จ
ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังกันในการศึกษาทุกระดับ
การปลูกฝังจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ถ้าต้องการให้มนุษย์ในสังคมเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า
และรู้จักใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธีก็ต้องช่วยกันปลูกฝังจริยธรรมให้เกิดขึ้นอย่างถูกวิธี
ดังนั้น ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลูกฝังจริยธรรมได้แก่
1.ผู้ปกครองได้แก่ บิดา มารดา
และทุกคนในครอบครัวต้องปฎิบัติตนอย่างที่ดี
ต้องแสดงความมีจริยธรรมให้ดูเป็นตัวอย่างและเกิดความประทับใจ
เป็นคนดีที่ดีสังคมและชาติต้องการพร้อมที่จะให้เด็กประพฤติตาม เพราะเด็กเป็นนักเลียนแบบที่ดี
เป็นวัยที่กำลังแสวงหาแบบอย่าง
เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะปํนแบบอย่างวที่ดีแก่ลูกหลานสืบไป
2.หลักสูตรการศึกษาทุกระดับชั้น
ควรบรรจุรายวิชาที่เน้นปลูกฝังจริยธรรม
เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติตนตาม ครูจะต้องปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง
ช่วยแก้ไขปรับปรุงตักเตือน เมื่อเห็นเด็กนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในทางจริยธรรม
3.บุคคลที่มีจริยธรรมควรได้รับการยกย่องสรรเสริญจากสังคม
เพื่อเป็นรางวัลแห่งการทำความดีและยังเป็นแรงบัดดาลใจ
เป็นกำลังใจให้แก่บุคคลที่จะปฏิบัติตนให้มีจริยธรรมเกิดขึ้นกับตัวเอง
4.บุคคลที่ประพฤติตัวผิดผิดจริยธรรมสมควรได้แก่การลงโทษ
เพื่อเป็นตัวอย่างให้บุคคลที่กำลังจะประพฤติผิดหลักของจริยธรรมเกิดความหวาดกลัว
แล้วกลับมาทำตามกฎระเบียบของสังคม
ความสำคัญของจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบสารสนเทศและงานอาชีพ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศหรือข่าวสารที่ต้องการ
รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่าง ๆ
รวมทั้งซอฟต์แวร์ระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน
พร้อมกระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ มาใช้งาน รวบรวมข้อมูล
จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
ที่นำไปใช้ในประโยชน์ได้ต่อไป
ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกองค์กร
การเชื่อมโยงสารสนเทศ ทางคอมพิวเตอร์ ทำให้สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในระบบ คือ
ข้อมูลและสารสนเทศ อาจถูกจารกรรม ถูกปรับเปลี่ยน ถูกเข้าถึงโดยเจ้าของไม่รู้ตัว
ถูกปิดกั้นขัดขวางให้ไม่สามารถเข้าถึงได้ถูกทำลายเสียหาย
ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในโลกของเครือข่าย โดยเฉพาะเมื่ออยู่บนอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นการมีคุณธรรม และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีจึงมีความสำคัญดังนี้
1.ไม่ควรเปิดข้อมูลเป็นเท็จ
2.ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล
ให้ผู้รับคนต่อไปได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
3.ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
5.ไม่ทำลายข้อมูล
6.ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน
หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต
7.ไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าตัวเองเป็นบุคลหนึ่ง ตัวอย่างเช่น
การปลอมอีเมลของผู้ส่งเพื่อให้ผู้รับเข้าใจผิด เพื่อการเข้าใจผิด หรือต้องล้วงความลับ
8. การขัดขวางให้บริการของเซิร์ฟเวอร์
หรืออีเมลเซร์ฟเวอร์
การโจมตีจะทำโดยการเปิดการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์จนถึงขีดจำกัดเซิร์ฟเวอร์
ทำให้ผู้อื่น ๆ ไม่สามารถมาใช้บริการได้
9.ไม่ปล่อย
หรือสร้างโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious
Program) เรียกชื่อย่อว่า (Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการก่อกวน
ทำลาย
หรือทำความเสียหายระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายโปรแกรมประสงค์ร้ายที่แพร่หลายในปัจจุบันคือ
ไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
10. ไม่ก่อความรำคาญให้กับผู้อื่น
โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น สแปม (Spam) การส่งอีเมลไปยังผู้ใช้จำนวนมากเพื่อการโฆษณา
11.ไม่ผลิตหรือใช้สปายแวร์ (Spyware) โดยสปายแวร์จะใช้ช่องทางการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตเพื่อแอบส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้นไปให้กับบุคคลหรือองค์กรหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ
12.ไม่สร้างหรือไวรัสคอมพิวเตอร์
เพื่อก่อกวนผู้อื่น
ทรัพย์ทางปัญญา
ความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา
หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากการคิดค้นจนทำให้เกิดค่าขึ้นได้
หรือทรัพย์สินทางปัญญาได้แก่การที่ให้ผู้ใดหรือคณะบุคคลใดร่วมกันประดิษฐ์คิดค้น
ออกแบบ สร้างสรรค์ จนเกิดผลขึ้นมา
และผลงานนั้นมีคุณค่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งงานเกษตรกรรม อุตสาหกรรม
และพาณิชยกรรม
ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกได้
2 ประเภท คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (lndustrial property)
และลิขสิทธิ์ (Copyright) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม
แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เกี่ยวกับอุตสาหกรรม
ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม
ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดขึ้นมาใหม่
หรือเกี่ยวกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบ
และรูปร่างสวยงามตัวผลิตภัณฑ์ รวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ
ชื่อหรือถิ่นที่อยู่การค้า
ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1.1 สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้ออกเพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์
(lnvention)การออกแบบผลิตภัณฑ์(Product Design)หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์(Utility Model) ที่มีลักษณะที่กฎหมายกำหนด
- การประดิษฐ์
คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวข้องกับลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้าง
หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต
การรักษาหรือปรังปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
- การออกแบบผลิตภัณฑ์
คือ
การคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม
และแตกต่างไปจากเดิม
- ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสิทธิบัตร จะมีลักษณะคล้ายกับการประดิษฐ์
แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย
1.2 เครื่องหมายการค้า
คือเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้สินค้า
หรือบริการ ได้แก่
- เครื่องหมายบริการ คือ เครื่องหมายที่ใช้เจ้าของเครื่องหมายเกี่ยวกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายเกี่ยวกับสินค้าแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบินไทย แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น
- เครื่องหมายรับรอง คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชิม แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น
- เครื่องหมายร่วม คือ เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการที่ ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียว หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน หรือตราช้างของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น
1.3
แบบผังภูมิของวงจรรวม หมายถึง แผนผังหรือแบบที่ทำขึ้น
เพื่อแสดงถึงการจัดการจัดวางและการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น
1.4 ความลับทางการค้า หมายถึง
ข้อมูลการค้าที่ยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล ซึ่งโดยปกติแล้วบุคคลที่เข้าถึงได้จะต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิง
1.5 พาณิชย์
เนื่องจากการเป็นความลับ
และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป้นความลับ ความลับทางการค้าอาจอยู่ในรูปแบบของสูตร วิธีการ
กรรมวิธีการออกแบบ เครื่องมือ
แบบแผน
หรือการวบรวมข้อมูลข่าวสารที่ใช้ในการทำธุรกิจเพื่อเพิ่มความได้เปรียบเหนือคู่แข่งหรือกลุ่มลูกค้า เช่น
ความลับในการผลิตเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่ง
เป็นต้น
1.6 ชื่อทางการค้า หมายถึง
ชื่อที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจในกรณีที่มีการใช้ชื่อทางการค้ากับสินค้าหรือบริการใด
ชื่อทางการค้านั้นจะทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการด้วยแต่เครื่องหมายการค้าไม่จำเป็นชื่อทางการค้า ชื่อทางการค้าเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ เช่นแคนนอน
ฟูจิ เป็นต้น
1.7 สิ่งที่บงชี้ทางภูมิศาสตร์
หมายถึง
ชื่อสถานที่ทางภุมิศาสตร์ที่ผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น
มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย
แชมเปญ คอนยัค เป็นต้น
2. ลิขสิทธิ์ คือ งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม
ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์
2.1
สิทธิ์ข้างเคียง คือการเอางานด้านสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง
ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุ
2.2
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
2.3
งานฐานข้อมูล คือ ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมเพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ
2.4
ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่กฎหมายให้ความคุ้มครองโดยให้เจ้าของสิทธิ์เป็นเจ้าของแค่คน เดียว
2.5
งานอันมีลิขสิทธิ์ : งานสร้างสรรค์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ต้องเป็นงานในสาขาวรรณกรรม
นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม
2.6
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ :
สิทธิในลิขสิทธิ์เกิดขึ้นนับตั้งแต่ผู้สร้างได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีกร
2.7
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ : ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
ในการใช้ประโยชน์จากผลงานสร้างสรรค์ของตน ในการทำซ้ำ ดัดแปลง
หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งสิทธิในการให้เช่า
โดยทั่วไปอายุการคุ้มครองสิทธิจะมีผลเกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน
โดยความคุ้มครองนี้จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และคุ้มครองไปอิก 50
ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครอง
ป้องกันผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและทางศีลธรรม ซึ่งบุคคลพึงได้รับจากผลงานสร้างสรรค์อันเกิดจากความนึกคิดและสติปัญญาของตน
นอกจากนี้ยังมุ่งที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน
เมื่อผู้สร้างสรรค์ได้รับผลตอบแทนจากแรงงกายและสติปัญญาของตน
ก็ย่อมจะเกิดกำลังใจจะคิดค้นสร้างสรรค์และเผยแพร่หลายออกไปมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี
การกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสติปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต
ประเทศไทยได้ประกาศใช้ราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
เพื่อใช้แทนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 โดยมีผลบังคบใช้วันที่ 21 มีนาคม 2538
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ให้คุ้มครองต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์
โดยจัดให้เป็นผลงานทางวรรณกรรมประเภทหนึ่ง
งานที่จัดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว
แต่ความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไปในเรื่องลิขสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน
ความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ
การละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
นอกจากความเสี่ยงด้านกฎหมายที่อาจจะได้รับแล้วธุรกิจยังอาจจะสูญเสียชื่อเสียง
ความน่าเชื่อถือ ซึ่งทำให้สูญเสียรายได้และดำเนินธุรกิจได้ยาก
และยังต้องเสี่ยงกับการใช้ซอฟต์แวร์ที่อาจสร้างปัญหาให้กับข้อมูลทางการค้าอีกด้วย
หรืออาจจะไม่ได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิค
และข่าวสารอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองและธุรกิจ
การสนับสนุนการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งที่หยุดยั้งการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเจริญเติบโตสูงขึ้นซึ่งจะนำมาซึ่งรายได้ให้กับประเทศไทย
และมีการพัฒนาความรู้ด้านนี้ให้กับบุคลากรของประเทศ
ทำให้สามารถแข่งขันทางการค้าได้ทั่วโลกและทันต่อยุคของการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
การละเมิดลิขสิทธิ์
ถือเป็นการกระทำที่ผิดต่อจริยธรรมและความรับผิดชอบในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบสารสนเทศและงานอาชีพ
ซึ่งลักษณะที่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์มีดังนี้
1.การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง คือ
การทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์แก่สาธารณชนรวมทั้งการนำต้นฉบับ
หรือสำเนางานออกให้เช่าโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
2.การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม คือ
การกระทำทางการค้า
หรือการกระทำที่มีมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้น โดยผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
แต่ก็ยังกระทำเพื่อหากำไรจากงานนั้น ได้แก่ การขาย มีไว้เพื่อขาย ให้เช่า
เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เสนอให้เช่าซื้อ
จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
มีความสามารถในการใช้งานมากขึ้นผลของการพัฒนาทำให้มีการประยุกต์ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง
จนในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
และทำให้เกิดผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งทางบวกและทางลบ กังนี้
1.ผลกระทบทางบวก
ทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิ์ภาพในการทำงาน
ทำให้เกิดการผลิตในอุตสาหกรรม
ส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่
ส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ได้ดีขึ้น
2.
ผลกระทบทางลบ ทำให้เกิดอาชญากรรม ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่ยมถอย
ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ
ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
ข้อมูลข่าวสารของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล หากข้อมูลเกิดการสูญหาย
ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่ง
การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้
จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปลูกฝังให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์
เพื่อให้รู้จักการใช้งานที่เหมาะสม
ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็จำเป็นต้องปลูกฝังเช่นเดียวกัน
เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานที่เป็นประโยชน์เชิงสร้างสรรค์หรือทางบวก
มิใช่นำไปใช้ในทางที่ไม่ดี
จริยธรรมและความรับผิดชอบในการใช้อินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นระบบออนไลน์ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้
ในเครือข่ายย่อมมีผู้ประพฤติไม่ดีปะปนอยู่ ก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมส่วนรวมเสมอ
แต่ละเครือข่ายจึงออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกของตนยึดถือและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้จะช่วยให้สมาชิกได้รับประโยชน์สูงสุด
และป้องกันปัญหาที่เกิดจากผู้ใช้บางคนได้ ดังนั้น
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนจะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์
ข้อบังคับของเครือข่ายที่ตนเองเป็นสมาชิก
ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่น
และต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ
บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตใช้บริการอยู่
มิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผ็ใช้สมาชิกอยู่เท่านั้น
แต่เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ จำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน
มีข้อมูลข่าวสารวิ่งอยู่ระหว่างเครือข่ายมากมาย
การส่งข่าวสารลงในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายไปยังเครือข่ายอื่นๆ เช่น
การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่ง อาจจะเดินทางผ่านเครือข่ายหลายเครือข่ายจนกว่าจดหมายฉบับนั้นจะเดินทางถึงปลายทาง
ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหา
ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
แม้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะได้รับสิทธิ์จากผู้บริหารเครือข่ายให้ใช้บริการต่างๆ
บนเครือข่ายนั้นได้ผู้ใช้จะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เครือข่ายนั้นวางไว้ด้วย ไม่พึงละเมิดสิทธิ์หรือกระทำการใดๆ ที่จะสร้างปัญหาหรือไม่เครารพกฎเกณฑ์ที่แต่ละเครือข่ายวางไว้
แลชะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์
จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นสังคมที่น่าใช้และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ผู้ใช้จะต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติ เช่น
การส่งกระจายข่าวลือจำนวนมากบนเครือข่าย
การกระจายข่าวแบบกระจายไปยังปลายทางจำนวนมาก การส่งจดหมายลูกโซ่ เป็นต้น
กิจกรรมเหล่านี้ จะเป็นผลเสียต่อส่วนร่วม และไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ตในสังคมอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นทั้งคนดีและไม่ดี
ดังนั้น
ผู้ใช้ที่ไม่ระมัดระวังจึงอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ผิดหรือก่อให้เกิดอันตรายได้
วิธีหนึ่งที่จะป้องกันเยาวชนไทยจากปัญหาเหล่านี้ก็คือ
การให้เยาวชนรู้วิธีการป้องกันตัวในการใช้อินเทอร์เน็ต
สิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรรู้และยึดถือปฏิบัติ มีดังนี้
1.ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว
เช่น ที่อยู่ เบอร์โทร ชื่อ โรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
2.หากพบข้อข้อความหรือรูปภาพใดๆ
บนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสม ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทนที
3.ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
และหากผู้ปกครองอนุญาตก็ควรไปพร้อมกับผู้ปกครอง โดยไม่ควรไปพบกันในที่สาธารณะ
4.ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ
ให้บุคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ตโดยมิชอบรับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
5.ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคาย
และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
6.ควรเครารพต่อข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ไว้กับผู้ปกครอง
เช่น กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้า
7.ต้องการปฏิบัติตามกฎข้างต้นทุกกรณี
สำหรับผู้ปกครองเองก็ควรมีส่วนร่วมในการป้องกันอันตรายให้กับเยาวชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเช่นกัน
โดยปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
1.ปฏิบัติตามกฎข้างต้นทุกกรณี
โดยที่ผู้ปกครองควรใช้เวลาเล่นอินเทอร์เน็ตกับบุตรหลาน
เพื่อจะได้เรียนรู้ว่าเขาใช้อินเทอร์เน็ตไปในทิศทางใด และมีความสนใจในเรื่องใด
2.ผู้ปกครองควรสอนให้บุตรหลานรู้จักถึงวิธีการป้องกันตัวในการใช้อินเทอร์เน็ต
3.ผู้ปกครองควรพูดคุยทำความตกลงเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลานเช่น
เวลาที่ใช้ได้ ประเภทของเว็บไซต์และกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตที่เข้าร่วมได้
4.ผู้ปกครองควรวางคอมพิวเตอร์ที่บุตรหลานใช้ไว้ในที่เปิดเผยที่มองเห็นได้
ข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ต
มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก
จริยธรรมและความรับผิดชอบจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข
หากมีการละเมิดอย่างรุนแรง กฎหมายจะเข้ามามีบทบาทต่อบาทต่อไป ดังนั้นจริยธรรมและความรับผิดชอบในการใช้อินเทอร์เน็ต
ที่ผู้ใช้ควรยึดถือเพื่อปฏิบัติมีดังนี้
1.
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข
หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจมกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.
ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.
ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.
ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเครารพกฎระเบียบ กติกา
และมีมารยาท
ข้อดีข้อเสียของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารสนเทศ
ซึ่งรวมคนทั่วมุมโลกเข้าด้วยกัน จึงทำให้มีบริการต่าง เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียดังนี้
· ข้อดีของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการที่หลากหลาย
ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการดังนี้
1. ค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย
บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ฯลฯ
2. ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ
ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างๆ
รวมทั้งอ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่างๆ
ได้ฟรีโดยมีทั้งข้อความและภาพประกอบ
3. รับ
ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินค่าตราไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้ว
ยังสามารถส่งแฟ้มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงพร้อมกันไปได้ด้วย
4. สนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความเสียง
5. ร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็น
หรือพูดคุยกับปัญหากับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน
เป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจนั้น
6. ถ่ายโอนแฟ้มข้อความ
ภาพและเสียงจากที่อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ได้จาการแหล่งที่มีผู้ให้บริการ
7.
ตรวจดูราคาสินค้าและสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งบริการต่างๆ ได้
โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้างสรรพสินค้า
8. ให้ความบันเทิงหลายรูปแบบ เช่น การฟังเพลง
รายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ภาพยนตร์ รวมไปถึงการแข่งขันเกมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก
9.
ติดประกาศข้อความที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง
10. ให้เสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแก่บุคคล
· ข้อเสียของอินเทอร์เน็ต
ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้มาก
แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ ดังนี้
1.อินเตอร์เป็นเครือข่ายงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
ทุกคนจึงสารมารถสร้างเว็บไซด์หรือติดประกาศข้อความได้ทุกเรื่อง
บางครั้งข้อความนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรับรองเช่น
ข้อมูลด้านการแพทย์หรือผลการทดลองต่างๆ จึงเป็นวิจารณญาณของผู้อ่านที่จะต้องไต่ตรองข้อความที่อ่านนั้นด้วยว่าควรจะเชื่อถือได้หรือไม่
2.นักเรียนและเยาวชนอาจติดต่อเข้าไปในเว็บไซด์ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจยั่วยุอารมร์ทำให้เป็นอันตรายต่อตัวเองและสังคม
มารยาทการใช้อินเตอร์เน็ต
1.การใช้อักษรพิมพ์ตัวใหญ่หมดทุกตัวในการเขียนจดหมายจะเป็นเสมือนการตะโกน
ดังนั้นควรเลือกใช้ตัวอักษรที่เหมาะสม
2.ไม่ควรใช้อารมณ์ในการตอบโต้
และควรรักษามารยาทโดยใช้คำสุภาพ
3.ไม่มีความลับใดๆบนอินเทอร์เน็ตให้นึกเสมอว่าข้อความของเราจะมีคนอ่านมากเมื่อเขียนไปแล้วไม่สามารถลบล้างได้
จริยธรรมและความรับผิดชอบเกี่ยวกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และแฟ้มข้อมูล
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนจะต้องมีตู้จดหมาย (mailbox)
และเมลแอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย
ความผิดชอบต่อการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องที่ทุกตนต้องให้ความสำคันมาก
เพราะระบบจะรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยอัตโนมัติ หากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมาก
จะทำให้พื้นที่จัดเก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ระบบหมดไป
ส่งผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายได้อีก
ทำให้ผู้ใช้ทุกคนในระบบไม่สารถรับส่งจดหมายที่สำคัญได้อีกต่อไป
นอกจากนี้ผู้ใดผู้หนึ่งส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่
ส่งแบบกระจายเข้าไปในระบบเดียวกันพร้อมกันหลายคนจะทำให้ระบบหยุดทำงานได้ผู้ใช้จึงพึงระลึกเสมอว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บตู้จดหมายของแต่ละคนมิได้มีผู้ใช้เพียงไม่กี่คนแต่อาจมีผู้ใช้หลายหมื่นคน
ดังนั้นระบบอาจมีปัญหาได้ง่าย ผู้ใช้แต่ละคนต้องมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมายของตนเอง
ดังนี้
1.ตรวจสอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองทุกวัน
และต้องจัดเก็บแฟ้มข้อมูลและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของตนให้เหลือภายในโควตาที่ผู้บริหารเครือข่ายกำหนด
2.ลบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการแล้ว
ออกจากระบบเพื่อลดปริมาณการใช้เนื้อที่ระบบ
3.ดูแลให้จำนวนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในตู้จดหมาย
มีจำนวนน้อยที่สุด
4.ควรโอนย้ายจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้อ้างอิงภาหลังมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
5.พึงระลึกเสมอว่าจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้
จึงไม่ควรจัดเก็บข้อมูลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้แล้วไว้ในตู้จดหมาย
หลังจากผู้ใช้ได้รับบัญชีในโฮลจากเครือข่าย
ผู้ใช้จะได้รับสิทธิ์ให้ใช้เนื้อที่ของระบบ ซึ่งเรียกว่า โฮมไดเรกเทอรี
ตามจำนวนโควตาที่เครือข่ายกำหนด ผู้ใช้ต้องมีความรับผิดชอบต่อเนื้อที่เพราะเป็นเนื้อที่ที่ใช้ร่วมกัน
ดังนั้นถ้าผู้ใช้ทุกคนใช้ทุกคนใช้พื้นที่ให้พอเหมาะและจัดเก็บเฉพาะแฟ้มข้อมูลที่จำเป็นจะทำให้ระบบมีเนื้อที่ใช้งานได้มากผู้ใช้ทุกคนควรมีความรับผิดชอบร่วมกัน
ดังนี้
1. จัดเก็บแฟ้มข้อมูลในไฮไดเรกทอรีของตนให้จำนวนต่ำที่สุด
ควรโอนย้ายแฟ้มข้อมูลมาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
2.
การแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนและผู้อื่นในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตควรจะตรวจสอบไวรัสเป็นประจำเพื่อลดการกระจายไวรัสในเครือข่าย
3. พึงระลึกเสมอว่าแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้ที่เก็บไว้บนเครื่องนั้น
อาจได้รับการตรวจสอบโดยผู้ที่มีสิทธิ์สูงกว่า
ดังนั้นผู้ใช้ไม่ควรเก็บแฟ้มข้อมูลเป็นเรื่องที่ลับเฉพาะไว้บนโฮส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น